ในการทำงานวิจัย “ความอดทน” นำมาซึ่งความสำเร็จนั่นคือเรื่องจริง แต่ความสำเร็จจะมีประสิทธิภาพมาก หาก “เลิกทำ” พฤติกรรมบางอย่าง

หัวข้อบทความนี้ จะบอกเล่าถึง 3 พฤติกรรมที่หากเลิกทำได้จะช่วยให้การทำงานวิจัยสำเร็จได้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมาก

1. หากอยากได้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง ควรเลิกทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ

การกระทำสิ่งเดิมๆ แล้วคาดหวังว่ามันจะให้ผลที่แตกต่าง สำหรับการทำงานวิจัยไม่ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ดี เพราะการศึกษาวิจัยนั้น ไม่ได้มีขั้นตอนที่ตายตัว ถึงแม้หัวข้องานวิจัยจะมีความคล้ายคลึงกับหัวข้อที่เคยมีผู้วิจัยท่านอื่นศึกษามาแล้ว แต่การใช้วิธีการเดิมๆ ผลการศึกษาวิจัยของคุณก็จะออกมาในรูปแบบเดิมหรืออาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพ อีกทั้งยังไม่น่าสนใจอีกด้วย

เพราะรูปแบบกระบวนการวิจัย จะต้องปรับเปลี่ยนตามตัวแปร สถานที่ และสถานการณ์แวดล้อมเป็นสำคัญ ดังนั้นถ้าคุณต้องการผลลัพธ์ที่แตกต่าง คุณต้องเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง ที่สำคัญจะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ที่น่าสนใจมากขึ้นเพราะยังไม่มีใครทำมาก่อนนั่นเอง

2. เลิกผัดวันประกันพรุ่ง

พฤติกรรมในข้อที่ 2 นี้ สมควรเลิกทำเป็นอย่างยิ่ง เราทุกคนต่างรู้ดีว่าการทำงานวิจัยนั้นระยะเวลาในการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย ฉะนั้นในการทำงานวิจัยแต่ละเล่มจึงมีระยะเวลาในการศึกษาที่เริ่มตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

ในส่วนนี้ทำให้ผู้เรียนหรือผู้วิจัยหลายท่านชะล่าใจปล่อยเวลาล่วงเลยผ่านไป เพราะคิดว่ามีเวลาอีกมาก เดี๋ยวค่อยทำก็ได้ พรุ่งนี้ค่อเริ่มก็ยังทัน จนเกิดการผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย ทำให้ต้องมาเร่งทำงานวิจัยหามรุ่งหามค่ำไม่ได้พักผ่อนตอนช่วง 1-2 เดือนสุดท้าย

เราอยากเตือนคุณว่า “วันพรุ่งนี้” ไม่มีอยู่จริง ดังนั้นคุณควรเลิกพฤติกรรมการผัดวันประกันพรุ่งนี้ซะ แล้วเริ่มวางแผนและลงมือทำงานวิจัยได้แล้ว เพราะการค่อยๆ แบ่งเวลาทำงานจะทำให้คุณทำงานสำเร็จได้เร็วขึ้น และเมื่อพบจุดบกพร่องในการทำงานที่สามารถแก้ไขได้เร็ว ไม่ต้องรีบลนลานในการทำงานจนงานเสียสุขภาพจิต และสุขภาพกายอีกด้วย

3. เลิกคิดว่าทุกอย่างจะออกมาดี และสมบูรณ์ที่สุด

ในข้อสุดท้ายนี้คือ “เลิกคิดว่าทุกอย่างจะออกมาดี และสมบูรณ์ที่สุด” คือการที่คุณไม่ความตั้งความคาดหวังจนเกินความเป็นจริงว่าผลงานวิจัยจะต้องออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด

เพราะในการทำงานวิจัย ความสมบูรณ์แบบนั้นไม่มีอยู่จริง อย่างที่ทางเราได้กล่าวไปว่าการทำงานวิจัยไม่ได้มีกฎที่ตายตัว และถ้าหากให้พูดถึงความสมบูรณ์แบบของการทำงานวิจัย ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่า…

การที่จะทำงานวิจัยให้ออกมาดีที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุดจะต้องใช้วิธีการที่แยบยล หรือแนวคิด ทฤษฎีที่ลึกล้ำ แต่คุณกลับลืมคิดไปว่าหากวิธีการ แนวคิด หรือทฤษฎีนั้นๆ ไม่ได้ส่งผลต่อกระบวนการทำงานวิจัยของคุณเลย งานวิจัยของคุณจะมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

ฉะนั้นสิ่งที่คุณต้องคำนึงจริงๆ คือ ผลลัพธ์ของงานวิจัยจะต้องสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้ง และเกิดประโยชน์ต่อสังคมต่างหากที่จะเรียกว่าสมบูรณ์แบบ ฉะนั้นวิธีการ แนวคิด หรือทฤษฎีในการวิจัยไม่จำเป็นที่จะต้องซับซ้อนลึกล้ำมากเกินไป เพราะความซับซ้อนเหล่านี้จะยิ่งทำให้ผลลัพธ์ในการวิจัยของคุณคาดเคลื่อนได้

3 พฤติกรรมที่ควรเลิกนี้ ไม่เพียงแต่จะใช้กับการทำงานวิจัยเท่านั้นเต่ยังใช้กับการทำงานต่างๆ ได้ดีอีกด้วย  และยังมีพฤติกรรมอีกมากมายที่คุณควรปรับเปลี่ยน หรือเลิกทำ เพื่อให้การทำงานของคุณสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น

“ถึงเวลาแล้วที่คุณควรจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองให้ดีขึ้น”

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!