ผู้วิจัยหลายท่านกำลังสงสัยว่า “ประชากร” กับ “กลุ่มตัวอย่าง” นั้นต่างกันอย่างไร

ในการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์นั้น ผู้วิจัยจะต้องมีกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลจะนำพามาซึ่งคำตอบของเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังศึกษาอยู่

ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายความต่างระหว่าง  “ประชากร” กับ “กลุ่มตัวอย่าง” ให้ฟังในแบบที่เข้าใจง่ายๆ

ประชากร

สำหรับประชากรในงานวิจัยจะหมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตทั้งหมดของเรื่องที่ศึกษา  อาจเป็นสัตว์ หรือคน ก็ได้ เช่น 

– ประชากรเสือในสวนสัตว์เขาเขียว
– ประชากรนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
– ประชากรที่เข้าใช้บริการห้างเซ็นทรัล เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
– ประชากรพนักงานในบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน)

ซึ่งในงานวิจัยสามารถแยก ประชากร ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

1. ประชากรที่มีจำนวนจำกัด ประชากรกลุ่มนี้จะมีจำนวนที่แน่นอน เช่น 

– นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หรือ 
– นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต 

ซึ่งประชากรกลุ่มนี้จะมีจำนวนที่แน่นอนซึ่งผู้วิจัยสามารถสอบถามสถานที่ ที่จะศึกษาได้เลย หรืออาจมีข้อมูลเผยแพร่ในข้อมูลเว็บไซต์ของโรงเรียนหรือมหาลัยนั้นอยู่แล้ว

2. ประชากรที่ไม่จำกัดจำนวน ประชากรกลุ่มนี้เราจะไม่สามารถทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนได้เลยเนื่องจากมีตัวเลขประชากรที่ไม่คงที่ เช่น 

– ประชากรที่เข้าใช้บริการห้างเซ็นทรัล เขตบางนา กรุงเทพมหานคร (ห้างจะมีผู้ใช้บริการเข้าออกตลอดเวลาจนกว่าห้างจะปิด)
– ประชากรพนักงานในบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) (พนักงานบริษัทจะมีการย้ายเข้า-ย้ายออกทุกเดือน)

เมื่ออ่านบทความมาถึงจุดตรงนี้แล้ว ผู้วิจัยคงจะทราบแล้วว่าประชากรของท่านคือ กลุ่มใดต่อไปเรามาศึกษากลุ่มตัวอย่างกันค่ะ

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ กลุ่มประชากรกลุ่มหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจจะศึกษา กลุ่มนั้นจริงๆ 

ยกตัวอย่างเช่น หากกลุ่มประชากรของท่านคือ ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยรังสิต ดังนั้นขนาดกลุ่มตัวอย่างของท่าน อาจจะศึกษา กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าที่สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับการศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้จึงไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่ชัด (ซึ่งจะอยู่ในประเภทประชากรไม่จำกัดจำนวน) 

หรือ หากกลุ่มประชากรของท่านคือ ประชากรนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ จำนวน 550 คน ที่เข้าเรียนในปีการศึกษา 2562 ดังนั้นขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางของ Krejcie & Morgan แล้วจึงได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 226 คน ในการนำไปวิเคราะห์ผล

บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com_งานวิจัย คุณภาพ_ทำงานวิจัย_สร้างแบบสอบถามงานวิจัย_การสร้างแบบสอบถาม_การออกแบบ แบบสอบถาม_แบบสอบถามความพึงพอใจ_ตั้งคำถามแบบสอบถาม_เทคนิคการสร้างแบบสอบถาม_แบบสอบถามวิจัย_แบบสอบถามงานวิจัย_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_วิเคราะห์ spss_โปรแกรม spss_โปรแกรม LISREL_LISREL_การคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane_การคำนวณกลุ่มตัวอย่าง_วิธีคำนวณกลุ่มตัวอย่าง_การเปิดตารางของ Krejcie & Morgan_ ประชากร_กลุ่มตัวอย่าง_ประชากร กับ กลุ่มตัวอย่าง แตกต่างกันอย่างไร_การวิจัยเชิงปริมาณ

ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มประชากรคือ กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่จะศึกษา เมื่อท่านทราบกลุ่มประชากรที่จะศึกษาแล้ว จึงจะสามารถนำกลุ่มประชากรกลุ่มนั้นมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้คำตอบของการศึกษาทั้งหมดได้ ซึ่งกลุ่มประชากรกลุ่มนั้นเรียกว่า กลุ่มตัวอย่าง หากสงสัยวิธีการคำนวณกลุ่มตัวอย่างโปรดติดตามบทความต่อไป >>> วิธีการกลุ่มตัวอย่าง อย่างละเอียด ที่นี่มีคำตอบ!

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!