การทำวิจัยหลายครั้งที่เกิดข้อผิดพลาดในการทำวิจัยซึ่งบางจุดอาจเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นเพื่อให้การทำงานวิจัยออกมาอย่างมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการทำงานไม่สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทยไม่มีสนับสนุน กรอบแนวคิดงานวิจัยไม่ตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือการใช้สถิติที่ไม่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย จนทำให้เนื้อหางานไม่สอดคล้องกันทั้งเล่ม

อาจจะเนื่องมาจากผู้วิจัย มีภาระหน้าที่ครอบครัวที่ต้องดูแล ขาดประสบการณ์ ไม่มีเวลาเต็มที่ และต้องทำงานพร้อมกับการศึกษาไปด้วย 

แต่นั่นก็ถือว่าเป็นบทเรียนในงานทำวิจัย เนื่องจากการทำงานวิจัยอย่างมืออาชีพนั้น เนื้อหาความเป็นมาและความสำคัญ ตลอดจนสภาพปัญหา วัตถุประสงค์การวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เครื่องมือการวิจัย รวมถึงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ต้องมีการกล่าวสอดรับกันทั้งเล่ม 

ซึ่งบางครั้งคุณไม่สามารถเรียงความสำคัญก่อนหลังได้ จึงไม่สามารถทำงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพได้ ก่อให้เกิดข้อผิดพลาดหลายจุดที่ท่านอาจารย์พบเจอในการตรวจบ่อยครั้ง

บทความนี้ ขอนำคุณเข้าสู่การจัดการข้อผิดพลาด พร้อมบอกแนวทางแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำวิจัยอย่างมืออาชีพ เพื่อให้ได้งานวิจัยที่มีคุณภาพ ในการนำไปใช้ประโยชน์ในทางการพัฒนาสถาบันการศึกษา และการพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพต่อไป

ข้อผิดพลาดที่พบประจำ

1. การทำวิจัยไม่สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด 

จากที่กล่าวข้างต้น ผู้วิจัยอาจมีปัญหาหลายอย่าง ที่ต้องรับภาระในการรับผิดชอบ และหนึ่งในนั้นอาจจะเป็นภาระจากทางครอบครัวหรืองานประจำ การจัดสรรเวลาที่ไม่ลงตัว ความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ ความไม่ชำนาญในการทำวิจัยในเรื่องที่ได้รับ ความทันสมัยของอุปกรณ์ในการทำงานวิจัย สถานที่ในการทำงานวิจัยมีไม่เพียงพอ ตลอดจนการหาผู้ช่วยทำวิจัยที่ไม่มีคุณภาพมาช่วยงาน ด้วยปัญหาดังกล่าวทำให้ขาดความต่อเนื่องในการทำงานและทำงานไม่สำเร็จตามระยะเวลที่กำหนด

2. ข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทยไม่มีสนับสนุน

เนื่องจากการทำวิจัยเป็นการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ปัญหาที่เกิดข้อผิดพลาดในการทำวิจัย คือปัญหาของระบบฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทยที่ไม่มีการสนับสนุนข้อมูลในงานวิจัยนั้น 

เพราะฐานข้อมูลที่มีในปัจจุบันอาจยังมีการรวบรวมงานวิจัยจากแหล่งต่างๆ ได้ไม่ครอบคลุม และไม่เพียงพอต่อความต้องการของการทำงานวิจัย เช่น ฐานข้อมูล ThaiResearch ที่ยังขาดความครอบคลุมงานวิจัยที่ได้รับทุนจากสถาบันการศึกษา วิทยานิพนธ์ และวารสารวิชาการจากสมาคมวิชาชีพต่างๆ อีกทั้งการเข้าถึงงานวิจัยฉบับเต็ม ยังทำได้ไม่มากพอต่อความต้องการของข้อมูลวิจัย เป็นต้น 

3. กรอบแนวความคิดไม่ตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ข้อผิดพลาดจากกรอบแนวความคิดการวิจัยไม่ชัดเจนนี้ เป็นข้อผิดพลาดที่ร้ายแรงมาก เนื่องจากกรอบแนวความคิดเปรียบเสมือนเข็มทิศในการเดินทาง หากกรอบแนวความคิดผิด การเดินทางของกระบวนการในการทำงานวิจัยของคุณอาจจะหลงประเด็นด้วยเช่นกัน 

เนื่องจากไม่สามารถวิเคราะห์ผลการศึกษาให้ตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำวิจัย ได้ เช่น ทำให้ศึกษาข้อมูล ทบทวนเอกสาร และหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน  

4. ใช้สถิติที่ไม่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย

ในการทำวิจัยการวิเคราะห์สถิติอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับ เนื่องจากไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านสถิติ รวมถึงไม่เข้าใจการใช้โปรแกรม SPSS ซึ่งปัญหาที่ทางบริษัทพบเจอบ่อยครั้ง คงหนีไม่พ้น การใช้สถิติที่ไม่ตอบวัตถุประสงค์

เนื่องจากการใช้สถิติที่ถูกต้องจะเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดเผยความจริงของข้อมูล เช่น ต้องการทราบว่าเพศ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน หรือไม่ หากผู้วิจัยใช้สถิติในการทดสอบผิด ผลจะออกมาผิดเพี้ยนไม่ตรงตามที่ต้องการได้ เช่นกัน

5. เนื้อหางานไม่สอดคล้องกันทั้งเล่ม

จากปัญหาข้อ 1-4 ที่กล่าวมานั้นส่งผลให้เนื้อหางานวิจัยทั้งเล่มไม่สอดคล้องกัน  ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องทำให้งานวิจัยไม่สมบูรณ์ และไม่ถูกต้องตรงกับเนื้อหาที่ต้องการในงานวิจัย จนต้องรื้องานใหม่ทั้งเล่ม ส่งผลให้เสียเวลา ส่งงานไม่ทัน หรืออาจร้ายแรงไปถึงไม่จบการศึกษาพร้อมเพื่อนร่วมห้องก็เป็นได้

แนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม

1. การทำวิจัยไม่สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด 

จากข้อผิดพลาดในการทำวิจัยไม่เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด คุณควรมีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบอาจจะมีสมุดบันทึกรายละเอียดการทำงาน 

โดยจะมีการจดวันที่รับงาน วันส่งงาน รายละเอียดงานที่ต้องทำมีอะไรบ้าง และจัดลำดับความสำคัญของงานโดยใช้แถบสีช่วย เช่น

งานด่วนใช้แถบสีแดง

งานเร่งปานกลางใช้แถบสีส้ม

งานไม่รีบใช้แถบสีเหลือง

นอกจากนั้นอาจใช้โปรแกรมที่มีฟีเจอร์ หรือฟังก์ชั่นที่ใช้งานได้สะดวกเข้ามาช่วยในการจัดระเบียบเพื่อใช้ในการกำหนดระยะเวลา เช่น โปรแกรม Excel  เพื่อให้คุณสังเกตได้ง่ายขึ้น โดยมีรายละเอียดดังรูป

ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์_การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท_การทำงานวิทยานิพนธ์_ดุษฎีนิพนธ์_การทำดุษฎีนิพนธ์_งานดุษฎีนิพนธ์_หัวข้อวิจัย_งานวิทยานิพนธ์_จ้างทําวิจัย_ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย_หัวข้อวิจัย_ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย_การเขียน Proposal งานวิจัย_การเขียนโครงร่างงานวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com
รูปที่ 1 แสดงการจัดเวลาเพื่อให้ได้งานสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

2. ข้อมูลของประเทศไทยไม่มีสนับสนุน

จากปัญหาของระบบฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทย ที่มีการสนับสนุนข้อมูลงานวิจัยที่ไม่เพียงพอนั้น เป็นปัญหาที่คุณคงเครียดมากพอสมควร ในการทำงานวิจัยต่อไป เนื่องจากการไม่มีงานวิจัยมาสนับสนุน จะทำให้งานวิจัยดูไม่เชื่อถือ ฐานข้อมูลออนไลน์งานวิจัยของต่างประเทศ จึงเป็นแหล่งข้อมูลอีกแหล่งหนึ่ง ที่สามารถนำมาสนับสนุนงานวิจัยของคุณให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้

ดังเช่น ProQuest, ERIC,  Science Direct, Google Scholar, Wiley, Sagepub, Emerald Insight, AAP-American Academy of Pediatrics, Annual Reviews Asian Development Bank (Free), CNKI,  Communication & Mass Media Complete และ Global Development Finance Online (GDF) เป็นต้น

3. กรอบแนวความคิดไม่ตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้การทำงานวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์ได้  กรอบแนวความคิดถือเป็นหัวใจหลักในการทำงานวิจัยเลยก็ว่าได้  ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ผิดพลาดขึ้น แนวทางแก้ไขคคือ ต้องสร้างกรอบแนวความคิดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา

เช่น คุณต้องการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ สิ่งที่ต้องทำคือ ควรศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ จากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับปัจจัยส่วมประสมทางการตลาดว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการซื้อบ้าง

และหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนทฤษฎีดังกล่าว เพื่อนำมาสร้างกรอบแนวความคิดที่ตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้นั่นเอง กระบวนการทำวิธีดังกล่าวจะช่วยลดข้อผิดพลาด และทำวิจัยได้อย่างมืออาชีพ

4. ใช้สถิติที่ไม่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย

จากเหตุการณ์ในการใช้สถิติที่ไม่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัยนั้น ทำให้คุณท้อไม่อยากทำงานวิจัยต่อ เพราะรู้สึกว่าสถิตินั้นยากเกินไปสำหรับตนเอง 

ดังนั้นแนวทางในการแก้ไขผู้วิจัยต้องทราบก่อนว่าวัตถุประสงค์ต้องการอะไร ตัวแปรในแบบสอบถามเป็นอย่างไร ลักษณะแบบสอบถามดังกล่าวต้องใช้สถิติแบบไหน เช่น ปัญหาด้านบนได้กล่าวไว้ว่าต้องการทราบว่าเพศ ที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน หรือไม่ ผู้วิจัยต้องวิเคราะห์แบบสอบถามก่อนว่าเพศเป็นตัวแปรต้น ที่เป็นอิสระต่อกันระหว่างชาย และหญิง 

ซึ่งข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติ กล่าวไว้ว่า หากตัวแปรต้นที่มีความเป็นอิสระต่อกัน 2 กลุ่ม เช่น เพศชาย 1 กลุ่ม เพศหญิง 1 กลุ่ม ให้ใช้สถิติ t-test หากมากกว่า 2 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น อายุ ระดับการศึกษา หรือรายได้เฉลี่ย ให้ใช้ One Way ANOVA เป็นต้น 

ดังนั้นการที่จะตอบคำถามว่าเพศจะส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานหรือไม่นั้นคงหนีไม่พ้นที่จะใช้สถิติ t-test ในการตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อนี้นั่นเอง จึงขอสรุปเป็นภาพไว้ดังนี้

ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์_การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท_การทำงานวิทยานิพนธ์_ดุษฎีนิพนธ์_การทำดุษฎีนิพนธ์_งานดุษฎีนิพนธ์_หัวข้อวิจัย_งานวิทยานิพนธ์_จ้างทําวิจัย_ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย_หัวข้อวิจัย_ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย_การเขียน Proposal งานวิจัย_การเขียนโครงร่างงานวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com
รูปที่ 2 แสดงโครงสร้างการวิเคราะห์สถิติ

5. เนื้อหางานไม่สอดคล้องกันทั้งเล่ม

สำหรับแนวทางการแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำวิจัยไม่สมบูรณ์  จนทำให้เนื้อหางานไม่สอดคล้องกันทั้งเล่ม ควรมุ่งเน้นในการนำเสนอเนื้อหาออกมาในรูปแบบงานวิจัยที่ชัดเจน ให้สอดคล้องกับปัญหาการวิจัย หรือวัตถุประสงค์การวิจัยอย่างถูกต้องที่สุด โดยการเริ่มจากวางแผนก่อนว่าจะศึกษาใคร ที่ไหน อย่างไร และงานวิจัยของท่านสามารถช่วยปัญหานั้นได้หรือไม่ เนื่องจากการวิจัยที่ดีจะต้องช่วยแก้ไขปัญหา และพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้นได้

สุดท้ายนี้ การทำวิจัยต้องผ่านกระบวนการที่เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน โดยจะต้องผ่านขั้นตอนการนำข้อมูลมาประกอบกัน เพื่อนำมาวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำที่สุด เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวจะช่วยแสดงข้อผิดพลาดขององค์กร ที่ทำให้ผู้ประกอบการหรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบปัญหาและสามารถเข้าไปแก้ไขและพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้นได้ 

ดังนั้น การทำวิจัยจึงต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการค้นหาข้อมูล ซึ่งบางแหล่งข้อมูลมีความซับซ้อน ต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์ในการค้นหาข้อมูลอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำวิจัยให้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้

ช่องทางติดต่อ รับทำวิจัย
Tel: 0924766638
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

สแกนคิวอาร์โค้ด
เพื่อติดต่อรับทำวิจัย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!