การออกแบบ แบบสอบถามที่ดีได้นั้น นอกจากคุณจะได้คำตอบที่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัยแล้ว ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ยังสามารถทราบพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถามได้อย่างชัดเจนขึ้น และนำผลการศึกษาไปปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ หรือเป็นแนวทางในการทำการตลาดได้อีกด้วย

การออกแบบ แบบสอบถาม_แบบสอบถามความพึงพอใจ_ตั้งคำถามแบบสอบถาม_เทคนิคการสร้างแบบสอบถาม_แบบสอบถามวิจัย_แบบสอบถามงานวิจัย_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_วิเคราะห์ spss_โปรแกรม spss_สถิติ t – test แตกต่าง_Save ข้อมูล SPSS_ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม_ความแปรปรวนภายในกลุ่ม_วิเคราะห์ ANOVA_การวิเคราะห์ ANOVA_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย.com

ด้วยเหตุนี้ ลักษณะแบบสอบถามที่ดีสามารถทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามเข้าใจได้ง่าย และผู้วิจัยได้คำตอบที่ตรงกับคำถาม จะต้องการออกแบบ แบบสอบถามให้มีลักษณะ ดังนี้

1. ข้อคำถามต้องกระชับเข้าใจง่าย

ในการตั้งคำถามนั้น ข้อคำถามที่ดีผู้อ่านต้องอ่านแล้วเข้าใจได้เลย ซึ่งนี่ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของนักวิจัย ในการตั้งคำถาม เพราะคำถามที่ตั้งมานั้นจะต้องชัดเจน ไม่ถามกว้างเกินไป และไม่กำกวม เพราะจะทำให้ผู้ตอบเข้าใจผิด ส่งผลให้ไม่ตั้งใจตอบก็เป็นได้ 

เช่น ต้องการจะสอบถามพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่จะเป็นแรงผลักดันให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ซึ่งแรงจูงใจในการทำงานตามหลักทฤษฎีของ Herzberg ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยค้ำจุน และปัจจัยจูงใจ เป็นทฤษฎีที่สามารถจัดองค์ประกอบแรงจูงใจได้อย่างชัดเจนและครอบคลุมที่สุด เมื่อพนักงานเกิดความพึงพอใจในปัจจัย ต่างๆ เหล่านี้ ก็จะทำให้พวกเขาเกิดความตั้งใจและมุ่งมั่น เพื่อความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบริษัทได้เป็นอย่างดี 

ดังนั้นผู้วิจัยอาจจะทำการตั้งคำถาม สอบถามพนักงานว่า 
– เงินเดือนที่ท่านได้รับเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ท่านได้รับหรือไม่? 
– บริษัทของท่านสนับสนุนให้ท่านแสดงออกความคิดเพื่อแก้ไขปัญหางานสำคัญหรือไม่? 
– หรือหัวหน้างานของท่านมีความยุติธรรมกับลูกน้องใต้บังคับชาหรือไม่? เป็นต้น 

จึงกล่าวได้ว่าหลักการตั้งคำถามที่ดีนั้น จะต้องสรุปได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน และอย่างไร ถึงจะเป็นลักษณะคำถามที่ดี แต่จะมีนักวิจัยสักกี่คนที่ทำได้ดี เพราะการตั้งคำถามถือได้ว่าเป็นการศิลปะผสมกับจิตวิทยา โดยจะกล่าวในหัวข้อต่อไป

2. คำถามต้องตรงกับสถานการณ์ที่ผู้ตอบแบบสอบถามพบเจอ

ในการตั้งคำถามที่ดีนั้น จากโจทย์ข้างต้น หากตั้งคำถามที่ไม่ตรงกับสถานการณ์ที่พนักงานพบเจอผู้วิจัยจะไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนเลย ผู้วิจัยควรศึกษาก่อนว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นใคร ทำงานลักษณะไหน และบรรยากาศการทำงานเป็นอย่างไร หรืออาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติมว่าบริษัทที่พนักงานทำงานอยู่นั้นขายผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะเข้าใจพฤติกรรมของเขาและตั้งคำถามให้ตรงกับสถานการณ์ที่พนักงานพบเจอ 

3. จำนวนหน้าของแบบสอบถามไม่เยอะจนเกินไป

ในจำนวนหน้าของแบบสอบถามหากเยอะเกินไป ผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกว่าเสียเวลา และเบื่อหน่าย จนทำให้ผลของข้อมูลที่ได้ไม่น่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจ เพราะการตอบแบบสอบถามแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที 

ดังนั้นจำนวนหน้าของแบบสอบถามที่เหมาะสมจึงไม่ควรเกิน 3 – 4 หน้ากระดาษ A4 หากจำนวนหน้าเยอะมากกว่านี้ ควรพิจารณาขอบข่ายการวิจัยหากข้อคำถามใดไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยจริงๆ ควรตัดรายการข้อคำถามทิ้ง ฉะนั้นผู้วิจัยจึงควรร่วมกันพิจารณาเรื่องเหล่านี้ด้วย

เมื่อทำการออกแบบ แบบสอบถามออกมาสมบูรณ์แล้วผู้วิจัยควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน ว่ามีคำถามใดบ้างที่ควรแก้ไขให้ถูกต้องตามทฤษฎีหรือไม่ รวมทั้งตรวจดูว่าข้อคำถามดังกล่าวยากเกินไปสำหรับผู้ตอบระดับนี้หรือไม่ และเหมาะสมเพียงไร มีลักษณะเป็นคำถามชี้นำหรือไม่ 

อีกทั้งยังควรพิจารณาตรวจสอบด้วยข้อข้อคำถามนี้จะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ถ้าไม่ถามจะขาดประโยชน์อย่างไรบ้าง รวมถึงตรวจดูการจัดหน้า เว้นวรรค และตัวสะกดการันต์ว่าถูกต้อง และเหมาะสมแล้วหรือไม่ เป็นต้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!